แผลเป็นนูน

Written by Super User on . Posted in health


แผลเป็นนูน ชนิด คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นที่มีลักษณะนูนและแดง แต่มีความผิดปกติเมื่อร่างกายมีบาดแผล ผิวก็จะมีการสร้างเนื้อเยื่อซ่อมแซมที่มากเกินไป ทำให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้นเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ รอยโรค ขนาดของแผลจะกว้างกว่าแผลเดิมตอนเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 

เกิดบาดแผล

เริ่มเกิดคีลอยด์

คีลอยด์ขยายตัว

เพศ วัย ที่พบ: มักพบใน

-          ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

-          ผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก (ในวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยกว่าในวัยอื่นๆ)

-          คนผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนผิวขาว

-          ผู้ที่มีประวัติการเกิดแผลเป็นและมีประวัติของครอบครัวมีแผลเป็น จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ

-           

ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดแผลเป็นนูน: ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

-          แผลจากการเป็นสิว

-          แผลจากการเจาะหู

-          แผลปลูกฝี ฉีดวัคซีน

-          แผลผ่าตัดต่างๆ

-          แผลผ่าคลอด

-          แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

-          แผลถูกของมีคมบาด

-          แผลจากอุบัติเหตุ

-          แผลจากรอยสัก


ลักษณะทั่วไป : แผล เป็นนูนชนิดคีลอยด์จะมีขนาดใหญ่กว่าแผลเป็นธรรมดา และกว้างใหญ่กว่าแผลตอนเริ่มต้น มีลักษณะนูน แข็ง หรือหยุ่นคล้ายยาง ผิวมัน มองเห็นชัดเจนจากผิวหนังปกติ มีสีแดงเนื่องจากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์อาจจะมีอาการเจ็บ คัน ร่วมด้วย อาจจะกดแล้วเจ็บ ก้อนเนื้ออาจจะค่อยๆ โตขึ้นหรือคงที่แต่จะใหญ่กว่าแผลเดิม

สาเหตุ: แผล เป็นนูนเกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผล ผิวหนังมีการสร้างเนื้อเยื่อซ่อมแซมที่มากเกินไป จนทำให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้นมากกว่ารอยแผลที่เป็นอยู่ และพันธุกรรมมีส่วนทำให้เกิดรอยโรคได้

ตำแหน่งที่พบ: แผลเป็นนูนมักพบได้ทั่วร่างกาย ส่วนมากพบบริเวณผิวหนังที่ตึงตัว โดยจะเห็นมากบริเวณหลัง ไหล่ แขน ขา คอ หน้าอก และหลังหู


วิธีการรักษาแผลเป็นนูนแบบอื่น: มีหลายวิธีดังนี้

1. การใช้ยาทาแก้แผลเป็น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ กรณีที่แผลเป็นนูนเป็นเพียงเล็กน้อยและไม่นานนัก

2. การใช้แผ่นซิลิโคนเจลปิดบริเวณแผลเป็น สำหรับแผลเป็นที่เป็นใหม่ๆ เพื่อช่วยลดการขยายตัวของแผล

3. การฉีดยาสเตียรอยด์ที่บริเวณแผลเป็น เพื่อให้แผลเป็นยุบลง แต่ต้องฉีดหลายครั้งจนกว่าแผลจะยุบและเรียบ

4. การผ่าตัด เพื่อเอาแผลเก่าออกแล้วเย็บแผลใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจใช้ได้กับแผลเป็นบางชนิดเท่านั้น และควรทำกับแผลเป็นที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ไม่ใช่แผลเป็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น