Knowledge

ตกขาว คืออะไร

ตกขาว เป็นของเหลวใด ๆ ที่ไหลออกมานอกช่องคลอด แต่ไม่ใช่เลือด ของเหลวดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากช่องคลอด ปากมดลูก และอวัยวะข้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ลักษณะของตกขาว จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในภาวะปกติ หรือกำลังเป็นโรคอยู่

ภาวะตกขาวที่ปกติเป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตามปกติแล้วในสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อีกนัยหนึ่ง คือ สตรีที่อยู่ในช่วงอายุที่ยังมีประจำเดือน หรือมีฮอร์โมนเพศหญิงเจริญเต็มที่) จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามระยะของประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลต่อการลักษณะของเหลวที่สร้างขึ้นมาจากอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์สตรี ดังเช่น ในช่วงกึ่งกลางรอบประจำเดือนหรือระยะใกล้เคียงกับการตกไข่ ซึ่งเป็นเวลาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ในช่วงเวลานี้ จะมีตกขาวลักษณะค่อนข้างเหลวใส ๆ ปริมาณมากกว่าระยะเวลาอื่น ส่วนตกขาวในระยะเวลาอื่นจะมีสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก นอกจากนั้นแล้ว ตกขาวที่ปกติควรจะไม่คัน และไม่มีกลิ่น ถ้าตกขาวของท่านมีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ถือว่าปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา

 อย่างไรก็ตาม  สตรีแต่ละท่านจะมีปริมาณตกขาวแตกต่างกันไป บางท่านอาจมีปริมาณตกขาวมากจนเปื้อนชุดชั้นในอยู่หลายวันในแต่ละเดือน แต่สำหรับบางท่านอาจมีปริมาณน้อยจนไม่รู้ว่ามีตกขาวเลย

นอกจากนี้ ฮอร์โมนในสตรีในวัยดังกล่าว ทำให้เซลล์ในช่องคลอดสมบูรณ์ และมีการสร้างสารประเภทแป้งที่เรียกว่าไกลโคเจน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยแบคทีเรียชนิดหนึ่งให้เป็นกรดอ่อน ๆ  ภาวะนี้จะช่วยป้องกันการรุกรานจากเชื้อโรคชนิดอื่นที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้

ภาวะตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร

ตกขาวผิดปกติจะมีลักษณะที่ต่างออกไปจากที่กล่าวมาข้างต้น จะมีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการติดเชื้อ และสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ

ตกขาวที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ

ตกขาวจากสาเหตุนี้ เกิดได้จากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา และพยาธิในช่องคลอด ตกขาวประเภทนี้ บางชนิดจะมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะตัว ดังจะกล่าวต่อไป

ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส

เชื้อไวรัสบางชนิดเป็นเชื้อโรคที่ติดต่อมาโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มี เชื้อ บางครั้งอาจไม่มีอาการชัดเจน ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคเริมซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด จะมีอาการเป็นตุ่มใส ๆ ขนาดเล็ก ต่อมาจะแตกเป็นแผลแสบ มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ปรากฏอาการ

ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย

ตกขาวประเภทนี้มักมีสีเหลือง หรือค่อนข้างเขียว อาจมีอาการคันในบางราย เชื้อบางชนิดอาจเกิดตกขาวมีกลิ่นคาวปลาหลังการร่วมเพศ แต่ในกรณีที่มีการติดเชื้อจากโรคหนองในจะมีตกขาวสีเหลืองจัด อาจร่วมกับมีอาการปัสสาวะแสบขัดได้

ตกขาวมีสาเหตุจากเชื้อรา

เชื้อราในช่องคลอดมักทำให้เกิดอาการตกขาวสีขาว มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายนมที่ทารกแหวะออกมา และมีอาการคันช่องคลอด การตกขาวชนิดนี้มักไม่ได้เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ น้ำยาสวนล้างช่องคลอดที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยกำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน

ตกขาวที่มีสาเหตุจากเชื้อพยาธิในช่องคลอด

พยาธิชนิดนี้เป็นโรคติดต่อเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง มักมีสีเหลือง อาจเห็นเป็นฟอง มีอาการคันช่องคลอด และอาจมีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย

ตกขาวที่มีสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ

ตกขาวผิดปกติประเภทนี้ มีสาเหตุได้จาก การระคายเคืองหรือแพ้สารเคมี จากมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี

 (เช่น มะเร็งของปากมดลูก ช่องคลอด ท่อนำไข่) รวมทั้งเกิจากการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด

ท่านจะทำอย่างไรในกรณีที่เกิดปัญหาตกขาว

ท่านที่ประสบปัญหาตกขาวที่มีลักษณะปกติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างไร เพียงแต่ควรมาพบสูตินรีแพทย์ของท่าน เพื่อตรวจภายในพร้อมทั้งตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปี

แต่ถ้าหากว่าท่านมีอาการตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ กล่าวคือ มีสี กลิ่นผิดไปจากปกติหรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย ก็ควรจะได้รับการตรวจและรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุ ทั้งนี้เนื่องมาจากการรักษาที่ตรงตามสาเหตุจะทำให้โรคหายเร็วขึ้น เช่น ในกรณีที่ตกขาวจากเชื้อรา แพทย์อาจจะให้ยาเหน็บรักษาด้วย โคลไทรมาโซล หรือถ้าเป็นจากเชื้อพยาธิในช่องคลอด ก็อาจจะต้องใช้ยารับประทาน เมโทรนิดาโซล เป็นต้น ประการที่สองสาเหตุของตกขาวที่ปิดปกติบางครั้งอาจเกิดจากมะเร็งอวัยวะสืบ พันธุ์สตรีได้ โรคดังกล่าวนี้ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ส่วนประการสุดท้ายคือ ถ้าอาการตกขาวของท่านมีสาเหตุจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ท่านควรจะได้รับการ ตรวจหาพร้อมกับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นที่อาจเกิดร่วมด้วย รวมทั้งต้องมีการตรวจรักษาคู่สมรสด้วย จึงจะไม่ทำให้ท่านและคู่สมรสเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดโรคขึ้นซ้ำอีกในภายหลัง

 

หูด ตาปลา หูดข้าวสุก หลายคนคงงงว่าต่างกันอย่างใช่มั๊ยคะ

อาจจะเคยได้ ยินชื่อหูดเฉย ๆ แต่ไม่เคยเป็น ไม่รู้จักว่าหน้าตาของหูดนี่ เป็นอย่างไร บางท่านเคยเป็นหูดกันแล้ว หรือมีญาติพี่ น้องคนรู้จักกันเป็นหูด จะรู้ว่าเจ้าหูดนี่ น่าเบื่อน่ารำคาญใจจริง ๆ บางท่านเกิดมาไม่เคยได้ยินคำว่า "หูด"มาก่อนเลย ไม่เข้าใจ ด้วยซ้ำว่า หูดคืออะไรกัน และในทางตรงกันข้าม ถ้านึกถึงตาปลา ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี เพราะพบได้บ่อยมาก ทำให้เกิดมีการท้ากันว่า"อย่าเหยียบตาปลากันนะ" หูดกับตาปลาจะไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีหูดอีก ประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า "หูดข้าวสุก" ซึ่งแตกต่างจากหูดทั่วไปทั้งลักษณะ รูปร่าง ตำแหน่งและเชื้อโรค วิธีการรักษา ก็ยังแตกต่างกันอีกด้วยทั้ง หูดทั่วไป ตาปลา และหูดข้าวสุก ค่อนข้างจะเป็นเรื้อรัง ก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย ทั้ง หูดทั่วไป ตาปลา และหูดข้าวสุก ค่อยข้างจะเป็นเรื้อรัง บางครั้งในบางคนชอบกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ไม่หาย ขาด ทำให้เบื่อหน่ายได้ ลองมาดูรายละเอียดของหูด ตาปลา และหูดข้าสุก กันดีกว่านะคะ

หูด (Wart)

หูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส "ปาโปวา" (papova virus) ลักษณะหูดนี้จะเป็นเม็ดตุ่มนูนแข็ง มีรากอยู่ข้างใต้หูด มีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

หูดธรรมดา (common wart)

ลักษณะของหูดชนิดนี้ จะเป็นตุ่มเม็ดนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ อาจมีเม็ดเดียว หรือ หลายเม็ดก็ได้

ตำแหน่งที่พบ ที่พบบ่อย คือ บริเวณแขน ขา มือ และเท้า

หูดชนิดแบน (plane wart)

ลักษณะของหูดชนิดนี้จะเป็นเม็ดเล็กแข็ง แต่ผิวเรียบ ซึ่งต่างจากหูดธรรมดา เพราะว่า หูดธรรมดา จะมีผิวขรุขระกว่า

ตำแหน่งที่พบ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ หลังมือ หน้าแข็ง หน้าผาก

หูดฝ่าเท้า (plantar wart)

ลักษณะเป็นไต แผ่นหนาแข็ง เป็นปื้นใหญ่ ขนาดใหญ่กว่าหูดธรรมดา

ตำแหน่งที่พบ พบที่บริเวณฝ่าเท้า ข้างใต้ฝ่าเท้า

ใครกันบ้างที่เป็นหูด ?

หูดพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้หูดมักจะพบในผู้ที่มี ความต้านทานต่ำหรือไม่ค่อยสบาย มีการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย

หูดมีอาการอย่างไร ?

หูดทำให้มีอาการเจ็บได้แต่มักไม่คัน ส่วนใหญ่ที่เจ็บมากคือ หูดที่ฝ่าเท้า เพราะเมื่อคุณเดินไปเดินมา จะไปกดทับหูดโดยตรง ทำให้เจ็บได้

หูดติดต่อกันอย่างไร

วิธีการติดต่อของหูดทั้ง 3 ชนิด คือ ติดต่อทางการสัมผัสเชื้อโดยตรง (direct contact) เช่น ถ้าคุณผู้อ่านมีรอยถลอก หรือมีแผล ตามมือ เท้า แขน แล้วอยู่ดี ๆ ก็ไปสัมผัสกับคนที่เป็นหูดนี้ โดยที่ตัวคุณไปสัมผัสเข้ากับเจ้าตุ่มเม็ดหูดนี้โดยตรงเลย เชื้อไวรัสหูดนี้ ก็จะสามารถแพร่กระจาย มาที่ตัวคุณผู้อ่านได้ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้ว คนที่เป็นหูด ระยะแรกจะมีเม็ดเดียว ต่อมาเกิดรำคาญหงุดหงิดใจ ก็เลยลองแกะดูเล่น ๆ หรือพยายามใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออก แกะไปแกะมา จะทำให้เกิดการแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัสหูดนี้ได้ ดังนั้นช่วงแรก อาจเป็นหูด 1 เม็ด ต่อมาไม่นาน กลายเป็นหูดถึง 10-20 เม็ดเชียวนะคะ อย่าทำเป็นเล่นไป

วิธีการรักษาหูด

ทายา ถ้าเป็นหูดเม็ดเล็ก ๆ หรือเป็นไม่มากนัก หรือหูดในเด็ก ๆ ใช้ยาทา เช่น ยาก ลุ่มกรดซาลิซิลิก ความเข้มข้น 20-40 เปอร์เซ็นต์ (20-40% SA ointment) ยาน้ำคอลโลแมค ดูโอฟิล์ม เป็นต้น การทายานี้ ได้ผลพอใช้ อาจต้องใช้ระยะเวลานาน

ขึ้นอยู่กับขนาดของหูด

จี้ด้วยไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าจี้ที่ตัวหูด จะได้ผลดีมาก ถ้าจี้ออกหมด

จี้ด้วยเลเซอร์ ใช้แสงเลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ได้ผลดีเช่นกัน แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจี้ด้วย ไฟฟ้า

ผ่าตัดออก คือการผ่าตัดเอาตัวก้อนหูดนี้ออกไปเลย แต่ไม่ค่อยนิยมทำกัน

ปัญหาของการรักษา

คือ หูด มักจะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่อีก ที่บริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

หูดข้าวสุก เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งแตกต่างจากหูดทั่วไป หูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่า "พอกซ์" (pox virus) ลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีขาวขนาดเล็ก ตรงกลางมีรอยบุ๋มเล็กน้อย ถ้าลองสะกิดตุ่มสีขาวนี้ออก แล้วเอามือบีบดู จะพบเนื้อหูดสีขาว คล้ายเม็ดข้าวสุก

ตำแหน่งที่พบ

ในวัยเด็ก จะพบตุ่มนี้ ที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา ติดต่อได้ง่ายมากทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) ในผู้ใหญ่ มักจะพบตุ่มนี้บริเวณอวัยวะเพศ จึงมักจะติดต่อกันได้ทาง เพศสัมพันธ์

อาการ

ของหูดข้าวสุกมักจะไม่ค่อยมีอาการคันหรือเจ็บ

วิธีการรักษา

ใช้เข็มสะกิดตุ่มนี้ แล้วบีบออก

ใช้กรดไตรคลออะเซติก ความเข้มข้น 30-50 % หรือฟีนอล ความเข้มข้น 1% แต้ม ทาตุ่มนี้

เล็บขบ หรือ เล็บคุด (ingrown nail, onychocryptosis)

เป็นรูปแบบทั่วไปของโรคเล็บ เล็บขบมักเป็นสภาวะที่เจ็บปวดซึ่งเล็บโตจนบาดเข้าไปในเนื้อใต้เล็บข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สภาวะนี้พบเฉพาะคนที่ที่สวมรองเท้าและไม่พบในคนที่เดินเท้าเปล่าเป็นประจำ เพราะโรคนี้เกิดจากรองเท้าดันเล็บลงข้างล่าง

สภาพดังกล่าวเริ่มต้นจากการอักเสบของเนื้อใต้เล็บอันเกิดจากจุลินทรีย์  และ เล็บถูกฝังอยู่ในกรานูโลมานานๆจนเกิดการติดเชื้อ แม้ว่าเล็บขบสามารถเกิดได้ทั้งในเล็บมือและเล็บเท้า แต่โดยทั่วไปพบเกิดกับเล็บเท้ามากกว่า เล็บขบแท้เกิดจากเล็บเจาะเข้าไปในเนื้อจริง

 เล็บขบไม่ควรสับสนกับสภาพของเล็บที่เจ็บปวดอื่น ๆ เช่น เล็บโค้ง (involutedly nail) หรือมีตาปลา (corn) หนังหนาด้าน (callus) หรือเศษอยู่ใต้ร่องเล็บ (nail sulcus)หรือแผ่นเล็บ (nail plate)  นอกจากนี้ยังไม่ควรสับสนกับความผิดปกติของเล็บที่คล้ายกันอย่างเล็บนูน (convex nail)

สาเหตุของเล็บขบส่วนใหญ่เกิดจากการที่ตัดเล็บไม่ถูกต้อง และหรือการสวมรองเท้าที่คับเกินไป ส่วนสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดเล็บขบได้แก่

•              การสวมรองเท้าไม่เหมาะสม ได้แก่รองเท้าส้นสูงเกินไป ปลายเท้าแหลมไป รองเท้าคับไป ทำให้เท้าถูกบีบและ   เล็บไปสามารถงอกได้ตามปกติ

•              การตัดเล็บที่ไม่ถูกต้องโดยตัดมุมเล็บชิดเนื้อทำให้เล็บที่งอกทิ่มแทงเข้าที่ซอกเล็บ

•              การได้รับอุบัติเหตุที่เล็บมีการฉีกขาดทำให้เล็บที่งอกใหม่แทงเข้าซอกเล็บ เช่นการเล่นฟุตบอล

•              การติดเชื้อราที่เล็บ

•              การได้รับยาบางชนิดเช่น วิตามินเอที่ใช้รักษาสิว

อาการและอาการแสดงของเล็บขบ

อาการแสดงของเล็บขบแบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่

1.             ระยะที่ 1 จะมีอาการและอาการแสดงดังนี้

•              บริเวณซอกเล็บจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย

•              คลำดูจะอุ่นเล็กน้อยและกดเจ็บ

•              ไม่มีหนอง

การดูแลเล็บขบในระยะนี้

•              แช่น้ำอุ่นวันละสี่ครั้ง

•              ล้างเท้าและบริเวณเล็บด้วยสบู่วันละสองครั้งแล้วเช็ดให้แห้ง

•              ใช้ cotton bud ที่สะอาดแทรกระหว่างเนื้อซอกเล็บและเล็บและสอดผ้า gauze แทรกระว่างเล็บและเนื้อเยื่อ อาจจะเจ็บเล็กน้อย

2.             ระยะที่ 2

•              นิ้วหัวแม่เท้าจะบวมมากขึ้น แดงมาก และเจ็บมากขึ้น

•              อาจจะมีหนองไหลตรงเล็บขบ

•              จะมีการติดเชื้อที่ซอกเล็บ

การดูแลเล็บขบในระยะที่ 2

•              ทำเหมือนระยะที่1

•              จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ

•              หากไม่ดีขึ้นจะต้องตัดเอาเล็บออก

3.             ระยะที่ 3

•              จะปวดมากขึ้น แดงมากขึ้น และบวมมากขึ้น

•              มีเนื้อเยื่องอกที่ติดเชื้อ และมีหนองไหล

•              เล็บบริเวณดังกล่าวจะหนาตัวขึ้นมา

•              จะมีการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะมีไข้

การดูแลเล็บขบในระยะนี้

•              ระยะนี้จะต้องผ่าตัดเอาเล็บและเนื้อเยื่อทีงอกออกไป

•              ทำความสะอาดเอาหนองออกให้มากที่สุด

•              ทายาปฏิชีวนะ และรับประทานยาปฏิชีวนะ

การดูแลแผลหลังผ่าตัด

•              หลังผ่าตัดหนึ่งวันให้เอาผ้าพันแผลออก และทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสบู่

•              เช็ดแผลให้แห้ง และทายาปฏิชีวนะหรือทานยาปฏิชีวนะขึ้นกับอาการ ให้ทำความสะอาดแผลวันละหนึ่งถึงสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

•              รักษานิ้วเท้าให้สะอาดและแห้ง อย่าว่ายน้ำหรือทำให้แผลเปียกเป็นเวลาสองสัปดาห์

•              งดการกระโดด วิ่งหรือการออกกำลังที่มากเกินไปเป็นเวลาสองสัปดาห์


ระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร



นับว่าโชคดีอย่างหนึ่งที่มะเร็งปากมดลูกนอกจากจะใช้เวลานานถึง10-20 ปีกว่าจะเป็นมะเร็งแล้ว ยังมีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็งด้วยที่เรียกว่า “รอยโรคก่อนมะเร็ง” หรือ “รอยโรคก่อนระยะลุกลาม” ความผิดปกติในระยะนี้จะเป็นอยู่นาน 5-10 ปี กว่าจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเริ่มแรก การที่มะเร็งปากมดลูกใช้เวลานานก่อนเป็นและมีระยะก่อนมะเร็งนำมา ทำให้สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ ทุก 1-2 ปี หรือ ทุก 3-5 ปี ก็ได้(ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ เช่น มีคู่นอนคนเดียว) การตรวจคัดกรองมีจุดประสงคเพื่อตรวจให้พบความผิดปกติตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งเพื่อที่ จะได้ให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง เปรียบเสมือนเป็นการตัดตอนหรือตัดไฟแต่ต้นลม มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปอด ฯลฯ ยังไม่มีระยะก่อนมะเร็งให้ได้ตรวจคัดกรอง ถ้าตรวจพบก้อนเนื้องอกหรือมีอาการก็มักจะเป็นมะเร็งแล้ว


มะเร็งปากมดลูกใช้เวลานานเท่าไรก่อนจะเป็น ?



ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ HPV จนกระทั่งเป็นมะเร็งปากมดลูกใช้เวลานาน 10-20 ปี ขึ้นกับศักยภาพในการก่อมะเร็ง หรือความดุร้ายของเชื้อ HPV และภูมิต้านทานของปากมดลูก มะเร็งหลายชนิดยังไม่ทราบว่าใช้ระยะเวลานานเท่าไรตั้งแต่ได้รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย อาจจะใช้เวลานานหรือไม่นานหรือไม่ทราบเลยจริง ๆ การที่มะเร็งปากมดลูกใช้เวลาก่อโรคนาน10-20 ปี ทำให้มีเวลาเหลือเฟือที่จะป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อตัว

แต่ที่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังคงสูงอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นเพราะผู้หญิงที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรวจคัดกรองกัน อัตราการครอบคลุมของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยค่อนข้างต่ำไม่ถึงร้อยละ 20 ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกต่ำจะมีอัตราการครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80


หูด ที่อวัยวะเพศ

 

กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือหญิงบริการ ใน 3 เดือนก่อนหน้า
  • คนที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่คนใหม่ ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
  • ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน 1 ปีที่ผ่านมา
  • ผู้ที่มีคู่ครองอยู่คนละที่
หูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากไวรัส Human papilloma virus ลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อนๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่ ชอบขึ้นที่อุ่นและอับชื้น ในผู้ชายมักพบที่อวัยวะเพศบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตลอดทั้งบริเวณรอบรอยเปิดขอบ,ท่อปัสสาวะ และอัณฑะ ส่วนผู้หญิงจะพบที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนักและฝีเย็บ หูดมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่รีบรักษาจะเป็นมากขึ้นและยากต่อการรักษา และทารกอาจติดเชื้อได้ขณะคลอด